ดีบุก

ดีบุก

ดีบุกเป็นโลหะสีขาวเป็นเงาคล้ายเงิน มีความถ่วงจำเพาะ 7.3 มีจุดหลอมเหลว 232 องศาเซลเซียส เป็นโลหะเนื้ออ่อน แต่เหนียว ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส รีดเป็นเส้นได้ แต่ที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส ดีบุกจะเปราะ ทุบแตกง่าย ดีบุกมีรูปหลายแบบ เช่น ดีบุกสีเทา ดีบุกรอมบิก และดีบุกสีขาว

แหล่งที่พบแร่ดีบุก โดยจะพบในแร่แคสซเทอไรต์ ( SnO 2 ) แร่ดีบุกพบมากทางภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบในภาคกลาง และภาคเหนือ แร่ดีบุกพบปนอยู่กับกากแร่อื่น ๆ เช่น อิลเมไนต์ เซอร์ดอน โมนาไซด์ โคลัมไบต์ และซิไลต์

- วิธีการถลุงแร่ดีบุก มีขั้นตอนดังนี้ โดยนำสินแร่ดีบุก ( SnO 2 ปนกับทราย SiO 2 เป็นสารปนเปื้อน ) ผสมกับถ่านโค้ก และหินปูนด้วยอัตราส่วน 20 : 4 : 5 โดยมวล ใส่ในเตาถลุงแบบนอน โดยใช้น้ำมันเตา หรือใช้กระแสไฟฟ้าเป็นแหล่งให้ความร้อน

ปฏิกิริยาการแยกดีบุกออกจากแร่ ดังนี้

C ( s ) + O 2 ( g ) ------------> CO 2 ( g )

C ( s ) + CO 2 ( g ) -----------> 2CO ( g )

2CO ( g ) + SnO 2 ( s ) -----------> Sn ( l ) + 2CO 2 ( g )

ปฏิกิริยาการแยกสารปนเปื้อน ( SiO 2 ) ด้วยหินปูนออก ดังนี้

CaCO 3 ( s ) -------------> CaO ( s ) + CO 2 ( g )

CaO ( s ) + SiO 2 ( l ) -----------> CaSiO 3 ( l ) ( ตะกรัน )

ดีบุกที่ถลุงได้ ต้องนำไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการ Electrorefining สำหรับ ขี้ตะกรันที่ได้ พบว่ามีดีบุกปนอยู่อีกมาก สามารถนำไปถลุงเพื่อแยกดีบุกออกได้อีก

การนำดีบุกไปใช้ประโยชน์ เมื่อนำดีบุกผสมกับตะกั่ว ทำตะกั่วบัดกรี ดีบุกฉาบแผ่นเหล็กทำกระป๋องบรรจุอาหาร ดีบุกผสมกับโลหะอื่นๆ เป็นโลหะผสม ( Alloy ) เช่น ผสมทองแดงเป็นทองสัมฤทธิ์ ผสมกับทองแดงและพลวงใช้เป็นโลหะผสมทำภาชนะต่างๆ สารประกอบดีบุก เช่น SnCl 4.5H 2O ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ เครื่องแก้ว ย้อมสีไหม กระดาษพิมพ์ที่ไวต่อแสง เช่น กระดาษพิมพ์เขียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น