การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ ก๊าซคลอรีน และก๊าซไฮโดรเจนในอุตสาหกรรม

การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ ก๊าซคลอรีน และก๊าซไฮโดรเจนในอุตสาหกรรม

ใช้หลักการอิเล็กโทรลิซิสในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ แต่อุปกรณ์ซับซ้อนกว่า เรียกกระบวนการนี้ว่า The Chlor – Alkali Process ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมมีหลายวิธี เช่น การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์โดยใช้เซลล์ไดอะแฟรม เซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน และเซลล์ปรอท
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ ใช้สารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์
แต่เนื่องจากสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์มีสารอื่นปนอยู่ด้วย ดังนั้น จึงต้องแยกสารอื่นที่ปนอยู่กับสารละลายออก ก่อนที่จะนำไปแยกด้วยไฟฟ้าในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ การทำสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ให้บริสุทธิ์โดยใช้วิธี เติมสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ ลงไปในสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ เพื่อทำให้เหล็กไอออนและแมกนีเซียมไอออนที่ปนอยู่ตกตะกอน ดังนี้
Fe 3+ (aq) + 3OH - (aq) ----------> Fe(OH) 3 (s)
Mg 2+ (aq) + 2OH - (aq) ---------> Mg(OH) 2 (s)
จากนั้นก็เติมสารละลาย BaCl 2 ลงไป เพื่อทำให้ซัลเฟตไอออน (SO 2- 4)
ตกตะกอน โดยควบคุมให้ซัลเฟตไอออนเหลืออยู่ในสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ ไม่เกิน 2 g/l ดังนี้
Ba 2+(aq) + SO 2- 4 -----------> BaSO 4 (s)
สำหรับแคลเซียมไอออนของ (Ca 2+) ที่ยังตกค้างในสารละลาย ก็จะถูกทำให้
ตกตะกอนโดยเติมสารละลาย Na 2CO 3 ลงไป ดังนี้
Ca 2+ + CO 2- 3 (aq) -----------> CaCO 3 (s)
จากนั้นแยกตะกอนของ CaCO 3 ออกจากสารละลายเกลือโวเดียมคลอไรด์
สารละลายที่ได้เติมกรดHCl เพื่อกำจัด Na 2CO 3 ที่ตกค้างอยู่และปรับ pH ของน้ำเกลือให้พอเหมาะ สารละลายที่ได้เป็นสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ต้องการใช้เตรียมโซเดียมไฮดรอกไซด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น